บทที่ 2 กระบวนการขายและรูปแบบการขายออนไลน์


กระบวนการขายและรูปแบบการขายออนไลน์

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนเปิดร้านค้าออนไลน์
การเปิดร้านค้าออนไลน์ หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องยาก วุ่นวาย ทำคนเดียวไม่ได้ ขอบอกว่าคุณคิดผิดอย่างแรง การเปิดร้านค้าออนไลน์ไม่ยากอย่างที่คิด ถึงแม้ว่าจะเป็นมือใหม่ก็ตาม ไม่เช่นนั้นก็คงไม่มีร้านค้าออนไลน์ทยอยเปิดขึ้นมามากมายในขณะนี้ ซึ่งในการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์มีสิ่งสำคัญเพียงไม่กี่อย่าง ดังนี้

1. มองหาสินค้าที่อยากขาย แนวคิดการหาสินค้ามาขายทำได้หลายวิธี ง่ายสุด คือ ดูว่าตนเองสนใจอะไร ชอบอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า การขายของที่ตัวเองสนใจเป็นพิเศษค่อนข้างได้เปรียบ เพราะเราจะรู้ข้อมูลเชิงลึกเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี เช่น ชอบแต่งหน้า อยากขายเครื่องสำอาง คุณจะรู้ว่าขั้นตอนแต่งหน้ามีอะไรบ้าง เครื่องสำอางแต่ละชนิดคืออะไร ใช้อย่างไร ถือได้ว่าเป็นข้อดีของผู้ขายเอง ในกรณีที่ลูกค้าเข้ามาสอบถามข้อมูลก็จะได้ให้คำแนะนำอย่างถูกต้อง
วิธีต่อมา คือ หาข้อมูลดูว่าสินค้าอะไรกำลังอินเทรนด์อยู่ในตอนนี้ อย่างในช่วงที่ผ่านมา กระแส ตุ๊กตาเฟอร์บี้มาแรง แม่ค้าหลายคนหูตาไวหันมาจับเทรนด์ตุ๊กตาเฟอร์บี้จนร่ำรวยไปหลายราย นี่แสดงให้เห็นถึงพลังกระแสนิยมที่สามารถการันตีรายได้ให้แน่นอน
และวิธีสุดท้าย คือ สอบถามจากคนรอบข้าง ถามความคิดเห็น  เช่น ถ้าอยากขายสินค้าชนิดนี้คิดเห็นอย่างไรบ้าง, ถ้าต้องเป็นลูกค้าจะซื้อสินค้าชนิดนั้นหรือไม่ หรือถามไปตรงๆ เลยก็ได้ว่าขายอะไรดี แน่นอนว่าคนรอบข้างสามารถให้ไอเดียคุณได้ อยู่ที่ว่าจะเอาต่อยอดได้อย่างไร
2. หาแหล่งซื้อของ เมื่อได้ประเภทสินค้าที่อยากขายแล้ว ต้องรู้ด้วยว่าเราจะไปหาสินค้าเหล่านั้นได้จากที่ไหน เช่น ขายของกิฟท์ช้อปต้องไปสำเพ็ง ขายตุ๊กตาอาจต้องติดต่อโรงงานโดยตรง ขายเสื้อผ้าต้องไปประตูน้ำ เป็นต้น เพราะสินค้าแต่ละประเภทมีแหล่งซื้อขนาดใหญ่ของมันอยู่แล้ว ทำให้ได้สินค้าในราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อจากที่อื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ลดต้นทุนค่าสินค้าได้
3. เลือกช่องทางการขายของ ปัจจุบันการขายของออนไลน์มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความสะดวกในการใช้งาน โดยช่องทางหลักๆ ที่เป็นที่นิยม มีทั้งเว็บไซต์ ทั้งแบบสำเร็จรูปและไม่สำเร็จรูป หรือถ้าไม่ต้องการเปิดเป็นร้านทางเว็บไซต์ก็สามารถใช้ facebook  เป็นช่องทางการขายได้ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในเวลานี้ด้วย เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่าย และเข้าถึงผู้ซื้อได้ง่าย เพราะทุกคนใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์กับเกือบตลอดเวลา
สำหรับเจ้าของร้านที่อยากทำเว็บไซต์ขึ้นมาเอง ก็มีเรื่องที่ควรพิจารณาต่อไป คือ การตั้งชื่อเว็บไซต์ การดำเนินขั้นตอนการจดโดเมน รวมไปถึงการเช่าโฮสเพื่อเก็บข้อมูลร้านค้าไว้ ซึ่งในช่วงแรกๆ ไม่จำเป็นต้องใช้โฮสต์ราคาแพง เนื่องจากข้อมูลอาจจะไม่มาก แต่ถ้าคิดว่าเว็บไซต์ที่ทำต้องอลังการ ข้อมูลแน่นเอี้ยด มีสินค้าหลายพันชนิด เลือกโฮสต์ที่มีความจุมากหน่อยก็เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะคุ้มค่าต่อร้านค้าออนไลน์ของเรามากกว่า
วิธีการขายสินค้าออนไลน์
กฏข้อที่ 1 ความประทับใจแรก
เชื่อว่าหลายๆคนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ น่าจะต้องเคยเจอเว็บที่พอเราเปิดเข้าไปครั้งแรกแล้ว ถึงกับปิดแทบไม่ทันเลยทีเดียว! เนื่องด้วยความที่มันดูใช้งานยาก ไม่สวยถูกใจเราแน่นอนตัวลูกค้าของเราเอง ก็อยากใช้เว็บที่ถูกใจเช่นกัน! มีผลวิจัยออกมาว่าลูกค้าที่เกิดดความไม่ประทับใจในครั้งแรกที่เข้าเว็บ จะทำให้มีโอกาสที่ลูกค้าคนนั้น กลับมาใช้เว็บอีกครั้งมีน้อยมากซึ่งจุดหลักๆที่ลูกค้าอยากได้จากการเข้าเว็บครั้งแรกมี 3 ข้อใหญ่ๆด้วยกัน ได้แก่

1.การออกแบบเว็บที่มีความสวยงาม
2.การทำให้เว็บเข้าใจง่าย
3.ความเร็วในการโหลดตัวเว็บ

หากเรากำลังเปิดเว็บขายของอยู่ ลองกลับไปเช็คกันดูว่าทั้ง 3 ข้อนี้ มีข้อไหนที่เราตกหล่นไปไหม อีกทั้งยังรวมไปถึงการออกแบบตัวเว็บของเรา ให้เข้ากับหน้าจอมือถืออีกด้วย เพราะเราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ยุคนี้ลูกค้าส่วนใหญ่ใช้ smartphone ในการเลือกซื้อสินค้ากันเป็นจำนวนมาก
กฏข้อที่ 2 การบอกต่อใน Social
นี่เป็นข้อที่มีความสำคัญที่สุดในกฏ 4 ข้อเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าเว็บของเรานั้นจะมีความสวยงามและมีความน่าใช้ขนาดไหนก็ตาม แต่ลูกค้าจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าของเรานั้นดีจริงหรือไม่
มีผลการวิจัยออกมาแล้วว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้อสินค้า โดยดูจากคนใกล้ตัว เช่น เพื่อนหรือญาติสนิท ส่วนรองลงมานั้น จะเป็นการเลือกที่จะเชื่อการรีวิวบน Social Network ต่างๆเป็นหลัก เช่น Facebook, Pantip มากกว่าที่จะเชื่อการรีวิวจากเว็บผู้ขายโดยตรง อีกทั้งลูกค้ายังใช้การรีวิวพวกนี้ เป็นตัวเปรียบเทียบความเหมือนของตัวสินค้า ที่แต่ละเว็บได้นำเสนอไว้อีกด้วย
กฏข้อที่ 3 สร้างความน่าเชื่อถือ
แน่นอนว่าเมื่อเราอยากจะใช้การชำระเงินผ่านระบบต่างๆทางอินเตอร์เน็ท อย่างแรกเลยที่เราต้องคำนึงถึงนั่นก็คือ เว็บมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไร (มากน้อยแค่ไหน) เว็บเชื่อถือได้หรือไม่
วิธีการแก้ปัญหานี้ได้แก่ การทำให้ระบบชำระเงินของเว็บเรา มีความเป็นสากล เช่น เลือกใช้บัตรเครดิตที่มีชื่อเสียงหรือ payment gateway (ระบบจ่ายเงิน)ที่น่าเชื่อถือ
ที่สำคัญเรายังสามารถเพิ่มความสบายใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น โดยการทำให้เว็บของเรา มีระบบ Live Chat เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อ มีการลงเบอร์โทรและ e-mail ให้ชัดเจนบนหน้าเว็บของเรา เพื่อที่ลูกค้าจะได้รู้สึกสบายใจในการชำระเงิน เพราะสามารถติดต่อเจ้าของเว็บได้ง่าย หรือถ้าสามารถเพิ่มนโยบายรับประกันสินค้า เช่น รับประกัน 15 วัน หากสินค้าชำรุด สามารถปลี่ยนได้ ก็จะยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าขึ้นไปอีก
กฏข้อที่ 4 เปลี่ยนลูกค้าขาจร ให้เป็นลูกค้าขาประจำ
ในเมื่อเราเริ่มมีลูกค้าอยู่ในมือของเราแล้ว ทำไมเราไม่ใช้พวกเขาให้เป็นประโยชน์ล่ะ! หลังจากที่เราขายสินค้าจนลูกค้าเชื่อมั่นและชื่นชอบในสินค้าของเราแล้ว เราควรจะทำให้ลูกค้าอยากกลับมารีวิวสินค้าของเราด้วย อย่างเช่น เราอาจจะลองจัดโปรโมชั่นให้คูปองแก่ลูกค้า หากรีวิวสินค้าให้เรา หรืออาจจะมีส่วนลดในครั้งต่อๆไปถ้าหากมีการรีวิวสินค้า แล้วถ้าเราสามารถทำให้ลูกค้าถ่ายรูปคู่กับสินค้าของเราก็จะยิ่งเป็นผลดีขึ้นไปอีก
กระบวนการขายออนไลน์
เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานขายต้องเข้าใจในกระบวนการขาย ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ

 1. แสวงหาลูกค้า (Prospect for customers)
2. วางแผนวิธีการเข้าหาลูกค้า (Plan the approach)
3. เสนอการขาย และ/หรือ การสาธิต (Make the presentation and/or demonstration)
4. แก้ไขข้อโต้แย้ง (Handle objections)
5. ปิดการขาย (Close the sale)
6. ติดตามผลการขาย (Follow-up)

1. แสวงหาลูกค้า

ขั้นตอนการแสวงหาลูกค้าเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการขาย เป็นขั้นตอนในการพิจารณาโอกาสหรือช่องทาง
สำหรับการขายสินค้า มีวิธีการหลายวิธีในการที่พนักงานขายจะสามารถตรวจสอบหาช่องทางหรือโอกาส เช่น
หาข้อมูลลูกค้าใหม่จากลูกค้าปัจจุบันของบริษัท โดยการที่พนักงานขายอาจถามจากลูกค้าเก่า
หรือลูกค้าปัจจุบันให้แนะนำชื่อและที่อยู่ของลูกค้ารายอื่นที่มีความสนใจหรืออาจเหมาะสมกับการใช้งาน
ผลิตภัณฑ์ของบริษัท
ข้อมูลจากวารสารในอุตสาหกรรมต่างๆ สิ่งพิมพ์ทางการค้า การอ้างอิงต่างๆ เช่น สมุดโทรศัพท์
หนังสือพิมพ์ทางธุรกิจ เป็นต้น
รายชื่อของสมาชิกสมาคมวิชาชีพต่างๆ หรือสมาคมทางธุรกิจต่างๆ เช่น สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สภาหอการค้า เป็นต้น
ข้อมูลของลูกค้าที่ส่งมาเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าหรือบริการของบริษัท หรือลูกค้าที่โทรศัพท์เข้ามาเพื่อ
ขอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
ไม่ใช่ลูกค้าทุกรายที่แสวงหาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ข้างต้นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นลูกค้าของบริษัท
ดังนั้นพนักงานขายจะต้องคัดเลือกลูกค้าที่คาดหวังว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคตก่อนที่จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
โดยลูกค้าที่คาดหวังควรมีความสามารถและมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ โดยอาจพิจารณาจากความมั่นคง
ทางการเงิน ปริมาณการใช้สินค้าของธุรกิจ สถานที่ตั้ง เป็นต้น ดังนั้นพนักงานขายไม่ควรจะเสียเวลาที่จะใช้
ความพยายามในการขายแก่ลูกค้าที่มีความเสี่ยงหรือไม่มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ โดยสรุปขั้นตอนในการแสวงหา
ลูกค้าที่คาดหวังดังนี้
จำกัดความลูกค้าคาดหวัง ต้องกำหนดคุณสมบัติของลูกค้าคาดหวังหรือลูกค้าที่เป็นไปได้ เช่น มีอำนาจซื้อ
เป็นผู้ตัดสินใจซื้อ มีความต้องการสินค้า เป็นต้น
ค้นหาลูกค้าคาดหวัง เมื่อกำหนดคุณสมบัติของลูกค้าคาดหวังแล้วก็ทำการค้นหาลูกค้าคาดหวัง
จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
หารายละเอียดและกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ พนักงานขายต้องทำการค้นหาข้อมูลของลูกค้า
คาดหวังแต่ละรายให้ละเอียดและมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเป็นการกลั่นกรองลูกค้า
เปรียบเทียบคุณสมบัติของลูกค้าคาดหวังกับผลิตภัณฑ์ที่จะเสนอขาย เป็นการวางแผนกลยุทธ์

ในการเข้าหาลูกค้าแต่ละรายเพื่อจะเลือกวิธีเสนอขายที่เหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุด

2. วางแผนวิธีการเข้าหาลูกค้า

ขั้นตอนต่อไปคือการเข้าหาลูกค้าที่คาดหวัง ซึ่งปัญหาสำคัญสำหรับขั้นตอนนี้คือการหาผู้ที่มีอำนาจในการ
ตัดสินใจซื้อ ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะรู้ พนักงานขายอาจหาข้อมูลของลูกค้าในเบื้องต้นก่อน ศึกษาว่าลูกค้าที่คาด
หวังมีความต้องการอะไรบ้าง โดยที่จะต้องทำการศึกษาทั้งตัวบริษัทและตัวลูกค้าที่จะติดต่อ และตั้งวัตถุประสงค์
ที่ชัดเจนในการเข้าหาลูกค้า จากนั้นต้องทำการนัดหมายกับลูกค้าโดยต้องกำหนดเวลาและสถานที่ที่ชัดเจน
 ในการเตรียมตัวก่อนเข้าหาลูกค้าพนักงานขายควรแต่งกายให้สุภาพเหมาะสมกับสถานที่ที่เข้าพบ และเตรียม
เอกสารและข้อมูลให้ครบถ้วน
    ในขั้นตอนการเข้าพบลูกค้า พนักงานขายควรเริ่มจากการแนะนำตัวให้ลูกค้าทราบว่าเป็นใคร มาจากไหน
โดยอาจให้นามบัตรหรือของที่ระลึกที่มีชื่อบริษัทของผู้ขายเช่น ดินสอ ปากกา ปฏิทิน หรือตัวอย่างสินค้า เป็นต้น
พนักงานขายอาจอ้างอิงชื่อของลูกค้าเก่าหรือลูกค้าปัจจุบันที่แนะนำมา      และแจ้งวัตถุประสงค์ในการเข้าหา
ที่ชัดเจนทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าเวลาของลูกค้าและเวลาของพนักงานขายเป็นสิ่งที่มีค่าจึงไม่ควรยืดเยื้อ
ประโยชน์ของการที่พนักงานขายได้วางแผนการก่อนเข้าหาลูกค้า ได้แก่
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่คาดหวังเพื่อเป็นการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการเป็นลูกค้าที่แท้จริง เพื่อ
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
ลูกค้าคาดหวังเกิดความประทับใจต่อพนักงานขายที่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทและความสำเร็จในอดีต
ของลูกค้าคาดหวัง
พนักงานขายสามารถเตรียมการแก้ไขปัญหาที่อาจต้องเผชิญไว้ได้ล่วงหน้า

3. เสนอการขาย และ/หรือ การสาธิต

หลังจากพนักงานขายสามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการขายคือการเสนอการขาย และ/หรือ
การสาธิต วัตถุประสงค์ของขั้นตอนนี้คือการบอกหรือแสดงให้ลูกค้าคาดหวังทราบว่าผลิตภัณฑ์ของผู้ขายสามารถ
สนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร นั่นคือพนักงานขายต้องแสดงให้เห็นประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้
ผลิตภัณฑ์ของผู้ขาย เช่น ต้นทุนที่ลดลง การทำงานที่ง่ายขึ้น หรือผลกำไรที่จะเพิ่มขึ้น เป็นต้น แล้วพนักงานขาย
จะบอกลูกค้าให้ทราบถึงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้ลูกค้าได้รับประโยชน์เหล่านั้น ดังนั้นเพื่อให้สามารถ
ประสบความสำเร็จในการเสนอการขาย พนักงานขายต้องรู้
ความต้องการของลูกค้า
วิธีการนำเสนอที่ทำให้ลูกค้ามีความสนใจ ตั้งใจ และจูงใจพอที่จะชักจูงให้ลูกค้าตกลงใจซื้อ

การเสนอขายอาจเป็นได้ 3 รูปแบบ คือ

การเสนอขายที่มีลักษณะแน่นอน (The canned presentation)
การเสนอขายอย่างมีแบบแผน (The methodical presentation)
การเสนอขายแบบอิสระ (The free-form presentation)

4. ปิดการขาย

หลังจากที่พนักงานขายได้ตอบข้อโต้แย้งต่างๆ ของลูกค้าจนครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปิดการขาย
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าคาดหวังได้ตกลงใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทแล้ว ลูกค้าคาดหวังบางราย
อาจไม่ได้บอกโดยตรงว่าตกลงใจซื้อ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพนักงานขายที่จะถามลูกค้าเมื่อเห็นว่าลูกค้า
พร้อมที่จะซื้อแล้ว ในการปิดการขายอาจทำได้หลายวิธี ได้แก่
- ให้ลูกค้ากล่าวว่าจะซื้อสินค้าเอง
ถามโดยตรง โดยการสอบถามความต้องการจากลูกค้าคาดหวังว่าตกลงใจจะซื้อหรือไม่ โดยใช้คำพูด
ที่เหมาะสม
ถามทางอ้อม โดยไม่ถามโดยตรงว่าลูกค้าจะซื้อหรือไม่ เช่น ถามลูกค้าว่าต้องการจะให้ส่งสินค้าเมื่อไร

5. ติดตามผล

หลังจากปิดการขายลงก็มิใช่ว่าความรับผิดชอบของพนักงานขายจะสิ้นสุด สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการ
ติดตามผล พนักงานขายต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับสินค้าตามกำหนดหรือไม่ และลูกค้า
มีความพึงพอใจในการใช้ตามที่ต้องการหรือไม่ ธุรกิจไม่ได้คาดหวังจะขายสินค้าเพียงครั้งเดียว ดังนั้น
การติดตามผลจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ ดังนั้นหากลูกค้ามีความพอใจในการบริการ
ของพนักงานขายก็จะเต็มใจที่จะซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทอีกต่อไป
กิจกรรมการขาย
กิจกรรมของพนักงานขายมีหลากหลาย กิจกรรมการขายขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานด้านการขาย โดยปกติกิจกรรม
การขายประกอบด้วย
หน้าที่การขาย (Selling function) เช่น วางแผนการนำเสนอการขาย นำเสนอการขาย ทำยอดขาย
ให้ได้ตามเป้า ปิดการขาย เป็นต้น
งานด้านคำสั่งซื้อ (Working with order) ได้แก่ การออกคำสั่งซื้อ จัดการคำสั่งซื้อที่สูญหาย แก้ไขปัญหา
การจัดส่งล่าช้า เป็นต้น
ให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ (Servicing the product) โดยเฉพาะพนักงานขายสินค้าทางเทคนิค เช่น
เครื่องจักรอุตสาหกรรม กิจกรรมที่เกี่ยวข้องคือการทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อให้มั่นใจว่าใช้งานได้ดี
ฝึกอบรมลูกค้าในการใช้ผลิตภัณฑ์ และสอนขั้นตอนการใช้อย่างปลอดภัย
จัดการด้านข้อมูล (Managing information) กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง คือ การรับข้อมูลย้อนกลับจากลูกค้า
วิเคราะห์ข้อมูล แล้วรายงานผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง
ให้บริการลูกค้า (Servicing the account) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้แก่ การควบคุมสินค้าคงคลัง การจัด
วางสินค้าบนชั้นวาง จัดการด้านการแสดงสินค้า ณ จุดขาย เป็นต้น หน้าที่เหล่านี้มักจะทำโดย
พนักงานขายที่มีลูกค้าเป็นร้านค้าปลีก เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านขายยา
เข้าร่วมอภิปรายและประชุม (Attending conference and meeting) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องคือการเข้าร่วม
ประชุม สัมมนา นิทรรศการงานแสดงสินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
การฝึกอบรมและการสรรหา (Training and Recruiting) พนักงานขายที่มีความก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้นในสายอาชีพการขาย อาจต้องเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม
พนักงานขายใหม่ อาจจำเป็นต้องเดินทางไปกับพนักงานใหม่เพื่อสอนงานขาย
การให้ความบันเทิง (Entertaining) ในงานการขาย พนักงานขายอาจจำเป็นต้องพาลูกค้าไปเลี้ยงอาหาร
หรือทำกิจกรรมบันเทิงด้านต่างๆ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของงานการขาย
การเดินทาง (Travelling) ระยะทางและความถี่ในการเดินทางของพนักงานขายขึ้นอยู่กับลักษณะงานขาย

 แต่มักจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเดินทางได้

1 ความคิดเห็น: