บทที่ 1 หลักการขายออนไลน์


หลักการขายออนไลน์

ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

    พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต

กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

องค์กรการค้าโลก ให้คำจำกัดความไว้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของการขายออนไลน์

ความหมายของการขายออนไลน์

   ความหมายของการขายสินค้าออนไลน์และคำที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้

1. ความหมายของการซื้อขายออนไลน์ 
   
         ให้ความหมายการซื้อขายสินค้าออนไลน์ หมายถึง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)เป็นการทำธุรกรรมการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยทั้งสองฝ่ายไม่ต้อง  พบกัน แต่ใช้การติดต่อขายทางอินเทอร์เน็ตก็สามารถซื้อขายสินค้าได้ทุกรูปแบบสินค้าทุกประเภท ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก เกิดความสะดวกสบาย

2. ความหมายของการขายออนไลน์

 ให้ความหมายของการขายออนไลน์  หมายถึง การนำสินค้าไปประกาศขายตามเว็บไซต์ที่เป็นทำเล หรือ Maketplaceที่ผู้ซื้อกับผู้ขายออนไลน์พบกัน ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ในไทย หรือ ในต่างประเทศเช่นTrade.com และ weloveshopping.com หรือ ในต่างประเทศ เช่น  amazon.comและ ebaly.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำเร็จรูปที่สามารถประกาศขายได้ทันทีมีบุคคลเข้ามาดูสินค้าหรือ สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติม เพราะเป็นเว็บไซต์ขนาดใหญ่ และ มีค่าใช้จ่ายต่ำ
3. ความหมายของการเปิดร้านค้าออนไลน์

      ให้ความหมายการเปิดร้านค้าออนไลน์ หมายถึง การสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อนำสินค้าของตนเองมาจำหน่ายผ่านทางช่องทางออนไลน์ ซึ่งร้านค้าออนไลน์จะเหมือนกับร้านค้าทั่วไปนำสินค้ามาวางขายแต่มีความแตกต่างกันตรงที่ทำการซื้อขายทุกขั้นตอนผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้นสามารถซื้อขายได้ทุกที่ ทุกเวลา


ความสำคัญของการขายออนไลน์

        ในโลกปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิต ไม่เพียงแต่การสืบค้นข่าวสารข้อมูลต่างๆ การติดต่อสื่อสารในกลุ่มเพื่อน แต่รวมไปถึงการซื้อขายสินค้าแบะบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ ที่เรียกกันว่า E-Commerce เพราะ E-Commerce คือ บริการการซื้อขายออนไลน์ มีความสำคัญ ดังนี้ ทำให้

การซื้อขายออนไลน์ สามารถซื้อขายได้ทุกที่ สร้างความสะดวกสบายให้ผู้ซื้อและผู้ขาย

          เทคโนโลยี ก็ยังถือปัจจัยหลักที่ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจ E-Commerce เติบโตไปได้อย่างรวดเร็วมาก เพราะทำธุรกิจ E-Commerce ปัจจุบัน  สามารถใช้งานได้หลากหลายช่องทางทั้งทางสมาร์ทโฟน  แท็บเล็ต หรือ คอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบของ E-Commerce มีความปลอดภัย โดย เว็บไซต์ E-Commerce ส่วนใหญ่จะมีระบบการจ่ายเงินที่สะดวกสบายแต่ระบบความปลอดภัยสูงมาก

           เป็นช่องทางใหม่สำหรับผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยสร้างโอกาสในการขยายช่องทางการค้าขายให้ผู้ประกอบการได้มากยิ่งขึ้น และเป็นตัวช่วยหนึ่งในการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

     เป็นวิธีที่ดีในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เพราะปัจจุบันสังคมออนไลน์ถือเป็นสื่อหลักที่ช่วยในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ได้อย่างดีเยี่ยม ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ดังนั้น จึงถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยขยายแบรนด์ ซึ่งช่วยเพิ่มฐานลูกค้าและขยายฐานธุรกิจออกไปอีกด้วย 

ลักษณะของการขายออนไลน์

      การขายสินค้าโดยปกติ ต้องมีหน้าร้านหรือแผงสำหรับการขายสินค้า อาจต้องเช้าพื้นที่ในห้าง หรือ ต้องหาพื้นที่เช่าอื่นๆในราคาไม่แพง นอกจากนั้นยังต้องซื้อสินค้ามาจัดวาง แต่การขายออนไลน์นั้นไม่ได้ยุ่งยากเพียงแค่ลงรายการสินค้า ลงรูป รายละเอียด และราคาของสินค้าในเว็บไซต์ก็สามารถขายของได้แล้ว ในกรณีใช้บริการเปิดร้านค้าออนไลน์ สามารถตั้งชื่อร้าน ตกแต่งป้ายร้านและหน้าตาของร้านได้ตามต้องการ ดังนั้น จะเห็นว่าการขายออนไลน์มีลักษณะที่ต่างจากร้านค้าปกติ ดังนี้

      1. ใช้ต้นทุนต่ำกว่าเปิดร้านจริง การขายออนไลน์นั้นมีต้นทุนต่ำกว่าเปิดร้านจริงๆ เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าเช่าร้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน แต่ถ้าต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง หรือ ไปสมัครใช้บริการตามเว็บไซต์ที่ให้บริการเปิดร้านค้าออนไลน์หรือฝากขายสินค้าก็ต้องมีค่าเช่าพื้นที่ ค่าธรรมเนียมรายเดือน-รายปี หรืออาจจะแบ่งเปอร์เซ็นจากการขาย เป็นต้น

      2. กลุ่มลูกค้ามีจำนวนมาก อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้โอกาสในการขายของออนไลน์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากสถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปี 2012 พบว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตในแต่ละวันมากกว่า 6 ล้านคน แต่ละคนจะเข้าเยี่ยมชมหน้าเว็บอย่างน้อย 50 หน้าในแต่ละวันเวลาที่คนเข้าชมเว็บไซต์มากที่สุดคือ ช่วง 4-5 โมงเย็น และแต่ละยัง Search Enginge ในการค้นหาข้อมูล หรือ สินค้าประมาณ 8 ครั้งต่อวันอีกด้วย

      3. เปิดร้านค้าได้ทุกวัน การเปิดร้านค้าทั่วไปจะต้องมีเวลาเปิด-ปิด เช่น เปิดร้านค้าเวลา 10 โมงเช้า ปิดร้านเวลา 1 ทุ่ม เปิดทุกวันจันทร์-เสาร์ หยุด วันอาทิตย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีคนคอยเฝ้าร้าน ซึ่งต้องแบ่งเวลาไปทำธุรกิจอื่นๆ แต่สำหรับการขายหรือเปิดร้านค้าออนไลน์แล้ว สามารถเปิดได้ทุกวัน ไม่จำกัดเวลา ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาชมสินค้าภายในร้านค้าหรือกระทู้ขายของได้ตลอดเวลา

     4. เพิ่มช่องทางในการขายสินค้า  สำหรับผู้ที่มีหน้าร้านค้าจริงอยู่แล้ว สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการขายสินค้าอีกทางหนึ่งเนื่องจากการเปิดร้านค้าออนไลน์ใช้ทุนไม่มาก สามารถลงรูปพร้อมรายละเอียดของสินค้าโปรโมชั่นใหม่ๆที่อยู่ของร้าน นอกจากนี้ยังช่วยโฆษณาและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านได้

    5. ใช้เวลาไม่มากทำเป็นอาชีพเสริมได้  ถึงแม้ว่าจะมีงานประจำทำอยู่แล้ว ก็สามารถขายของหรือเปิดร้านค้าออนไลน์เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งได้ เพราะใช้เวลาในการดูแลร้านไม่มาก สามารถใช้เวลาในช่วงเช้าหรือพักเที่ยง เพื่ออีกทางหนึ่งได้ เพราะใช้เวลาในการดูแลร้านไม่มาก สามารถใช้เวลาในช่วงเช้าหรือพักเที่ยง เพื่อเข้ามาตรวจสอบดูกระทู้ในเว็บบอร์ดหรืออ่านอีเมล ว่ามีลูกค้าเข้ามาสอบถามหรือสั่งซื้อสินค้าของทางร้านหรือไม่ และเวลาจะส่งสินค้าให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ สามารถไปส่งที่ไปรษณีย์ ในวันเสาร์ก่อนเที่ยงได้ เพราะไปรษณีย์ไทยเปิดทำการในวันเสาร์ครึ่งวันด้วย จะได้ไม่รบกวน เวลาทำงานจนเสียงาน  หรือ หากที่ทำงานอยู่ใกล้ไปรษณีย์ก็ถือว่าสะดวกมาก  สามารถส่งสินค้าได้ทุกวัน
  
องค์ประกอบทางการตลาด

 1. การวิเคราะห์เกี่ยวกับความจำเป็น ความต้องการ และความต้องการซื้อ (อุปสงค์)
              1.1 ความจำเป็น เป็นอำนาจพื้นฐานที่ทำให้บุคคลต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของร่างกาย ประกอบด้วยความต้องการในปัจจัย 4 ได้แก่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค รวมถึงความต้องการพักผ่อน และความต้องการทางเพศ
              1.2 ความต้องการ เป็นรูปแบบหนึ่งของความจำเป็นที่พัฒนามาจากความจำเป็นขั้นพื้นฐาน เป็นความปรารถนาของบุคคลที่จะได้รับการตอบสนองความพอใจ ซึ่งเป็นความต้องการในระดับที่ลึกซึ้งกว่าความจำเป็น โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมและบุคลิกภาพส่วนบุคคลเกิดจากการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและสังคม และการยกย่องทางสังคมรวมถึงต้องการประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต เช่นความต้องการรับประทานอาหารในร้านหรู ราคาหลายสิบล้านบาท ต้องการที่ดินทำเลดี เพื่อหวังผลกำไรสูงสุดในอนาคต ฯลฯ มักจะให้ความสำคัญกับความลึกซึ้งของความหมาย เพื่อใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการสินค้าและบริการ

              1.3 ความต้องการซื้อ (อุปสงค์) เป็นความต้องการผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง ที่ต้องมีความสามารถในการซื้อ ซึ่งจะประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
                      1. ความต้องการหรือความจำเป็นในผลิตภัณฑ์
                      2. ความสามารถในการซื้อหรือมีอำนาจซื้อ มีเงินพอที่จะซื้อ
                      3. ความเต็มใจที่จะซื้อสินค้านั้น

              ความจำเป็นหรือความต้องการสามารถเปลี่ยนเป็นความต้องการซื้อได้ถ้ามีอำนาจซื้อและมีความเต็มใจซื้อมาประกอบกัน ความจำเป็น ความต้องการและความต้องการการซื้อเป็นจุดเริ่มต้นของการตลาด ทำให้เกิดความคิดที่จะเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะสนองความต้องการของบุคคล ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการตลาดก็คือการวิเคราะห์และวิจัยถึงความต้องการของบุคคลที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองแล้ว จึงจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะสนองความต้องการเหล่านั้น

          2. ธุรกิจต้องเสนอผลิตภัณฑ์ (product) เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค
          ผลิตภัณฑ์ (product) หมายถึง สิ่งที่นำเสนอต่อตลาด เพื่อตอบสนองความจำเป็น หรือความต้องการของผู้บริโภค อาจเป็นสิ่งที่มีลักษณะทางกายภาพ ซึ่งเรียกว่าสินค้า (good) และรวมถึงบริการ (services) ซึ่งเป็นกิจกรรมหรือผลประโยชน์ที่มีการเสนอขาย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ยังหมายถึงความรู้ ความชำนาญ บุคคล สถานที่ องค์การ ข้อมูลและแนวคิด ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงมีความหมายกว้างมาก ผลิตภัณฑ์ที่สนองความต้องการของผู้บริโภคได้นั้น อาจเป็นสิ่งที่สนองความต้องการของร่างกาย เช่น อาหารที่ทำให้อิ่ม อาจเป็นสถานที่ซึ่งมีบรรยากาศเป็นที่ต้องการ เช่น ริมน้ำที่ได้กลิ่นของแม่น้ำ อาจเป็นเหตุการณ์ซึ่งมีผลต่อประสบการณ์ของผู้บริโภคเอง เช่น ดูภาพยนตร์บางเรื่องที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เมื่อยังเด็ก อาจเป็นความบันเทิงหรือเพลิดเพลิน เช่น การฟังเพลง ความคิดซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น นโยบายของพรรคการเมือง สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทั้งนั้น ดังนั้นการเสนอผลิตภัณฑ์จึงควรคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับมากกว่าที่จะเป็นตัวผลิตภัณฑ์

          3. ผลิตภัณฑ์นั้นต้องมีคุณค่า (value) ต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า หรือราคาสินค้าที่ลูกค้าซื้อ และความพึงพอใจของลูกค้า (satisfaction) ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือไม่นั้น เขาย่อมคำนึงถึงคุณค่าของสินค้า ตลอดจนความพึงพอใจที่มีต่อสินค้านั้น รวมทั้งความสามารถในการจ่ายซึ่งหมายถึงราคาสินค้าหรือ ต้นทุนสินค้าในสายตาผู้บริโภคนั่นเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
              3.1 คุณค่า (value) หมายถึงคุณค่าสินค้าหรือบริการ เพื่อจูงใจให้ผลิตภัณฑ์เกิดการ แลกเปลี่ยน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เสนอให้กับลูกค้าต้อมีคุณค่า (value) ในสายตาของลูกค้า กล่าวคือ ต้องมีลักษณะต่างจากคู่แข่ง นักการตลาดต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองให้มีคุณ่าเพิ่ม ในสายตาของลูกค้า
              3.2 ต้นทุน (cost) ของลูกค้า หมายถึงต้นทุนของลูกค้าที่เกิดจากการตัดสินใจซื้อ สินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง สมมุติว่าผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผ้าไหม ต้นทุนที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อผ้าไหมหนึ่งชิ้นประกอบด้วยต้นทุนต่อไปนี้
                      - ราคาในรูปตัวเงินของผ้าไหมที่ผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อ
                      - ต้นทุนด้านเวลา หมายถึง เวลาที่ลูกค้าสูญเสียไปหรือใช้ไปในการซื้อผ้าไหมเวลาในการตรวจสอบ คุณสมบัติของผ้าไหม เวลาในการแสวงหาร้านที่ขาย
                      - ต้นทุนพลังงาน หมายถึง พลังงานที่ลูกค้าสูญเสียไปจากการใช้พลังความคิดใน การตัดสินใจตลอดจนความเหน็ดเหนื่อยในการสำรวจหาลายผ้า แหล่งจำหน่าย
                      - ต้นทุนด้านจิตวิทยา เป็นความไม่สบายใจหรือความวิตกกังวลที่เกิดจากการใช้ผ้าไหม เช่นความกังวลต่อวิธีการซัก ความกังวลต่อการตัดเย็บ กังวลต่อสายต่อคนรอบข้างเมื่อใส่ผ้าไหม ฯลฯ
              3.3 คุณค่าในมุมมองของผู้บริโภค (customer value) เป็นความแตกต่างระหว่างผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคผลิตภัณฑ์นั้น เทียบกับต้นทุนที่ต้องจ่ายไป เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งในบางกรณ๊ผู้บริโภคจะใช้คุณค่าที่ตนรับรู้ได้ (perceived value) เป็นสิ่งกำหนด ผู้ซื้อจะตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยพิจารณาถึงคุณค่าผลิตภัณฑ์ (value) และต้นทุนที่เขาต้องจ่ายซื้อสินค้า เมื่อใดที่เขารู้สึกว่าคุณค่าผลิตภัณฑ์สูงกว่าต้นทุน หรือเงินที่เขาต้องจ่ายซื้อสินค้า แสดงว่าเขาได้รับประโยชน์ หรือกำไรจากการขายสินค้านั้น

              3.4 ความพึงพอใจของลูกค้า (satisfaction) เกิดจากการได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าสูงกว่าต้นทุนที่เขาต้องจ่ายไปและยังขึ้นกับเครื่องมือการตลาดและกิจกรรมการตลาดอื่น ๆ ด้วย

          4. ผลิตภัณฑ์จะมีการแลกเปลี่ยน (exchange) และการติดต่อธุรกิจ (transation) บุคคลจะได้รับผลิตภัณฑ์สองวิธีด้วยกัน คือ
              4.1 การแลกเปลี่ยน (exchange) เป็นกิจกรรมที่ได้รับผลิตภัณฑ์จากบุคคลหนึ่ง โดยการเสนอสิ่งที่มีคุณค่าเป็นการตอบแทน ลักษณะของการแลกเปลี่ยนประกอบด้วย
                      1. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
                      2. แต่ละฝ่าย มีบางสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับอีกฝ่ายหนึ่ง
                      3. แต่ละฝ่ายมีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และการส่งมอบ
                      4. แต่ละฝ่ายมีอิสระที่จะยอมรับ หรือปฎิเสธในสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งเสนอ
                      5. แต่ละฝ่ายเชื่อว่าเป็นการเหมาะสม หรือพอใจที่จะติดต่อสื่อสารกับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งสรุปได้ว่า การแลกเปลี่ยนระหว่างนักการตลาดและผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้า กล่าวคือนักการตลาดจะต้องเสนอเครื่องมือการตลาด (ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด) ที่เหมาะสม เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า หรือผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจและในขณะเดียวกัน เขาก็ต้องการขายผลิตภัณฑ์ได้ในราคาที่เหมาะสม การชำระเงินตรงเวลาและการเจราขายได้ผล
              4.2 การติดต่อธุรกิจ ประกอบด้วยการทำการค้าระหว่าง 2 ฝ่าย ในที่นี้ได้แก่ ฝ่ายผู้ขาย และผู้ซื้อ การติดต่อธุรกิจมีดังนี้
                      1. ต้องมีสองสิ่งที่มีคุณค่า
                      2. มีการตกลงภายใต้เงื่อนไข
                      3. มีระยะเวลาของการตกลง
                      4. มีสถานที่ในการตกลง

              4.3 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและการสร้างเครือข่าย การตลาด ต้องอาศัยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และอาศัยเครือข่ายทางการตลาดดังนี้
                      1. การตลาดเพื่อความสัมพันธ์ที่ดี เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่กลุ่มต่าง ๆ เช่นลูกค้า ผู้บริโภค ผู้จัดจำหน่ายคนกลาง ผู้ขายปัจจัยการผลิต ฯลฯ ซึ่งจะมีการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง ราคาเหมาะสม การจัดจำหน่ายรวดเร็ว และการส่งเสริมการตลาดที่เหมาะสม หลักการสำคัญคือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสามารถสร้างกำไรได้ ผลลัพธ์จากการใช้เครื่องมือทางการตลาด เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีทำให้เกิดสิ่งที่มีคุณค่ากับกิจการเรียกว่า "เครือข่ายการตลาด"
                      2. เครือข่ายทางการตลาด ประกอบด้วยกิจการและกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุน มีผลต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ เช่น ลูกค้าพนักงาน ชุมชนในท้องที่ และผู้ถือหุ้น

          5. การตลาด คือ กลุ่มเป้าหมายของการขายผลิตภัณฑ์ซึ่งหมายถึงลูกค้าซึ่งมีศักยภาพทั้งหมดที่มีความจำเป็น และความต้องการผลิตภัณฑซึ่งอาจมีความเต็มใจและความสามารถที่จะแลกเปลี่ยนเพื่อสนองความจำเป็นหรือความต้องการให้ได้รับความพอใจของตน โดยใช้เงินในการจ่ายซื้อความพึงพอใจเหล่านั้น องค์ประกอบทั้ง 5 ประการเป็นกระบวนการทางการตลาด (marketing process) ซึ่งเริ่มจากการกำหนดและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าและสิ่งแวดล้อม การวางแผนส่วนประสมการตลาด การปฎิบัติตามแผนและการควบคุมให้เป็นไปตามแผนถือว่าเป็นกระบวนการตลาด
มาประยุกต์ใช้กับปัญหาทางธุรกิจ ทั้งด้านการวางแผนและการควบคุม ส่วนใหญ่ข้อมูลที่ได้มักได้มาจากแบบจำลอง (model) ที่ใช้เทคนิคความรู้ทางธุรกิจและทางการตลาดขั้นสูงสร้างขึ้นมา แล้วนำเอาความรู้ทางสถิติไปพิจารณาหาความสัมพันธ์ของข้อมูล และทดสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วย ข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจวางแผนและแก้ไขสถานการณ์ทางธุรกิจได้ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การกำหนดราคา การวางแผนการตลาด

องค์ประกอบของการประกอบธุรกิจ

          1. การจัดองค์กร คือกิจกรรมที่ทำให้องค์การสามารถจัดรูปแบบการทำงานของบุคลากรภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          2. การผลิตและปฏิบัติการ คือกิจกรรมของการนำเอาวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการในการผลิตเพื่อทำให้เกิดมีสินค้าหรือบริการ
          3. การตลาด คือการดำเนินการเพื่อจะทำให้สินค้าหรือบริการที่ผลิตแล้วได้รับการเปลี่ยนมือไปถึงมือผู้บริโภค
          4. การบัญชีและการเงิน คือการเก็บบันทึกข้อมูลการดำเนินงานการจัดทำงบการเงิน งบประมาณ การจัดหาเงินทุน การใช้เงินทุนและลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริหารให้เงินทุนหมุนเวียนอย่างพอเหมาะ
          5. การจัดหาวัตถุดิบมาป้อนโรงงาน คือกิจกรรมในการจัดซื้อและควบคุมการจัดซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งการตรวจนับสินค้าคงคลัง
          6. การบริหารงานบุคคล คือการดำเนินการจัดสรรพนักงาน การฝึกอบรม การจัดหารูปแบบของการจูงใจและสวัสดิการต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารบุคคลซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร
          7. การจัดการระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ คือการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อความมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านต่างๆ
          8. การวิจัยและพัฒนา คือกิจกรรมเพื่อเน้นความคิดสร้างสรรค์ ค้นคว้านวัตกรรมใหม่ๆในผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อความพึงพอใจของผู้บริโภคอย่างสูงสุด

      



2 ความคิดเห็น:

  1. เป็นช่องทางทำมาหากินที่ชาญฉลาดมาก ต่อไปนี้รุ่นลูกหลานจะเห็นห้างใหญ่โตเป็นตำนานไปแล้ว

    ตอบลบ
  2. ข้อมูลเยอะมาก ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ